ปฏิกิริยาเคมีในแบตเตอรี่ (Chemical Action in Storage Batteries)
ของเหลวอยู่ภายในแบตเตอรี่ เรียกว่าน้ำยาอิเลคทรอไลด์ ซึ่งเป็นส่วนผสมระหว่างกรดกำมะถัน (H2SO4) กับน้ำ (H2O) เมื่อแบตเตอรี่อยู่ในลักษณะไฟเต็ม แผ่นบวกคือตะกั่วเปอร์อ๊อกไซด์ มีสูตรทางเคมี pbo2 ประกอบด้วยตะกั่ว 1 อะตอม และอ๊อกซิเจน 2 อะตอม มีสีช๊อกโคแลต แผ่นลบคือตะกั่วบริสุทธิ์ (sponge lead) มีสูตรทางเคมี (Pb) มีสีเทา น้ำยาอิเลคทรอไลด์ ประกอบด้วยไฮโดรเจน (H) 2 อะตอม, กำมะถัน (S) 1 อะตอม และอ๊อกซิเจน (O) 4 อะตอม
ปฏิกิริยาในการจ่ายกระแสไฟของแบตเตอรี่ (Discharging the cell)
เมื่อต่อวงจรจากขั้วแบตเตอรี่ไปใช้งานเมื่อใดกระแสไฟจะเริ่มไหล กระแสไฟนี้จะเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาเคมีระหว่างแผ่นบวก แผ่นลบ และกรดกำมะถัน อ๊อกซิเจน (O) จากตะกั่วเปอร์อ๊อกไซด์ (Pbo2) จะไปรวมกับไฮโดรเจน (H) ขากน้ำยาอิเลคทรอไลด์ (H2SO4) กลายเป็นน้ำ (H2O) ซัลเฟต(SO4) จากน้ำยาอิเลคทรอไลด์(H2SO4) จะไปรวมกับตะกั่ว (Pb) จากตะกั่วเปอร์อ๊อกไซด์กลายเป็นตะกั่วซัลเฟต (PbSo4) ปฏิกิริยาเคมีจะเป็นทั้งแผ่นบวกและแผ่นลบ ดังนั้นแผ่นบวกจะกลายเป็นตะกั่วซัลเฟต (PbSo4)แผ่นลบก็จะกลายเป็นตะกั่วซัลเฟตด้วย(PbSo4) น้ำยาอิเลคทรอไลด์ จะเจือจางลงจนเป็นน้ำ (H2O) การจ่ายไฟของแบตเตอรี่ก็จะลดลงไปเรื่อยๆ จนไม่สามารถจ่ายไฟได้อีก นอกจากได้รับการอัดไฟใหม่
ระหว่างการจ่ายกระแสไฟจะเป็นดังนี้ pbo2+Pb+2H2SO4=2PbSo4+2H2O
ขณะแบตเตอรี่จ่ายไฟ
การอัดไฟหรือการประจุไฟ (Recharging the cell)
การอัดไฟโดยใช้กระแสไฟตรงจากเยนเนอเรเตอร์หรือจากเครื่องอัดไฟ จะเกิดปฏิกิริยาตรงกันข้ามกับตอนจ่ายไฟคือ ตะกั่วซัลเฟต (PbSo4) จะแตกตัวเป็นตะกั่ว (Pb) และซัลเฟต (So4) ที่แผ่นบวกและแผ่นลบ น้ำ (H2O) ก็จะแตกตัวเป็นไฮโดรเจน (H) กับอ๊อกซิเจน (O) โดยที่อ๊อกซิเจนจะไปรวมกับตะกั่ว (Pb) เป็นตะกั่วเปอร์อ๊อกไซด์ (Pbo2) และไฮโรเจน (H) จะไปจับตัวกับซัลเฟต (So4) เป็นน้ำยาอิเลคทรอไลด์ (H2SO4) ที่แผ่นลบก็จะกลายเป็นตะกั่วพรุน (Pb) ขณะนี้แบตเตอรี่อยู่ในสภาพไฟเต็ม
การอัดไฟจะเป็นดังนี้ 2 PbSo4+2H2O=Pbo2+Pb+2H2SO4